วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ 6 หน่วยประมวลผลกลางและความจำหลัก

      หน่วยประมวลผลกลางและความจำหลัก


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยประมวลผลกลาง(central processing unit)
น่วยประมวลผลกลาง(central processing unit) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU)




เป็นวงจรอิเลคทรอนิคที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s

หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ
โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
    • 1. อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
    • Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
    • 2. ตีความชุดคำสั่ง (decode)
    • Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
    • 3. ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
    • Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
    • 4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
    • Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
    • 5. เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
    Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่
    โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip)
    นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยควบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล

เรื่องที่ 5 อุปกรณรับข้อมูล

                            อุปกรณ์รับข้อมูล

 


1. แป้นพิม  รับ
2.จอคอม   สมัยปัจจบัน Touch Screen ก็เรียกว่ารับ และ แสดง
3. cpu   ทั้งรับและส่งและประมวลผล  แต่ถ้าเรียกโดยรวมส่า หน่วยประมวลผลกลาง
4. ลำโพง  เป็นอุกรณ์แสดงผลอย่างเดียว
 


0
หน่วยทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ... เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ ... อุปกรณ์ทั้งสามแบบนี้มักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อทำหน้าที่แทนเมาส์ ... Mouse หรือ Keyboard ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำงานให้ตามนั้น ...อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ... หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ... เมื่อ คอมไฟล์โปรแกรมเสร็จแล้วไม่มีข้อผิดพลาดใด ตัวคอมไฟล์ (Compiler) ... หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ... เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น .... ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล
หน่วยรับเข้า เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ... ไฟฟ้าให้คอมพิวเตอร์ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปรสัญญาณเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ การใช้งานพิมพ์ภาษาไทย ... ลักษณะการทำงานจะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่ากำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ ...คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ... หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ ...หน่วยรับข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์แบบใดก็แล้วแต่ระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เช่น ในสมัยก่อนที่ใช้บัตรเจาะรูในการเก็บข้อมูลหน่วยรับข้อมูลก็คือ เครื่องอ่านบัตร ...

เรื่องที่ 4 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

          องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

 



 

 

 

 

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

เรื่องที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

<



โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)หรือที่เรียกว่าITได้ เข้ามามีบทบาท




ในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วย ความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization) เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร(Communication)และคอมพิวเตอร์(Computer) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information) ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลครอบคลุมทั่วโลกหรือWWW(Worldwide Web)ที่เราเห็นได้จากการใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต(Internet)ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ประจำวันไปแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆ

ในทุกวันมีการใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail), การพูดคุย (Chat) หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น การทำธุรกิจการค้า(e-commerce)การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆ เป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Magazine) รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้ ในปัจจุบันนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาจส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ ผลกระทบทางบวกนั้นได้แก่ ในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ในในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทันสมัยใหม่ ให้ติดต่อกันได้สะดวกรวดเร็ว และยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง แม้แต่ในภาคหน่วยงานราชการก็ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองได้นำยุทธศาสตร์ e-Government มาใช้ในการเก็บข้อมูลทะเบียนราษฎร์หกสิบหกล้านระเบียน, บันทึกทะเบียนเกิด ทะเบียนแต่งงาน ทะเบียนหย่า ทะเบียนปืน, บันทึก ตรวจสอบการย้ายเข้า-ออก การเปลี่ยนชื่อ-สกุล, อำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประชาชน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ใช้เทคโนโลยีในการบันทึกราคาสินค้าในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำ, ส่งข้อมูลราคาสินค้าจากจังหวัดเข้าสู่กรมฯ, คำนวณสถิติราคาสินค้าและดัชนีค่าครองชีพ, จัดทำฐานข้อมูลราคาสินค้าต่าง ๆ หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาก็ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลงทะเบียนวิชาเรียนและเก็บค่าหน่วยกิต, ตรวจข้อสอบและคิดระดับคะแนน, บันทึกข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา, บันทึกข้อมูลหนังสือ และ การยืมคืน, จัดทำบัญชี และ รายงานเกี่ยวกับการศึกษา ส่วนโรงพยาบาลได้นำมาใช้ในการบันทึกและค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วย, จัดทำฐานข้อมูลยาและเวชภัณฑ์, คิดเงินค่ายาและจัดทำบัญชีต่าง ๆ , จัดทำสถิติผู้ป่วยและพิมพ์รายงานส่งกระทรวง, ใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ในภาคธุรกิจก็นำมาใช้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารมีการใช้ระบบฝากถอนเงินทุกประเภท ระบบ ATM, ระบบตรวจสอบสินเชื่อ, OFFICE BANKING & HOME BANKING งานค้าปลีกมีการใช้ระบบซื้อสินค้ามาขาย, ระบบสินค้าคงคลังและการจัดทำรหัสแท่ง(Bar Code), ระบบเก็บเงินลูกค้า, ระบบบัญชี, ระบบบัตรเครดิต โรงแรมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจองห้องพักแบบต่าง ๆ, การลงทะเบียนเข้าพัก, การคิดเงินค่าห้องพักและบริการต่าง ๆ , การจัดทำบัญชีต่าง ๆ , การให้บริการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ในภาคอุตสาหกรรมมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยระบบ Computer Aided Design, ตรวจสอบแบบผลิตภัณฑ์โดยอัตโนมัติ, จัดทำโปรแกรมควบคุมเครื่องจักรการผลิต, บันทึกระบบวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง, ระบบ Computer Integrated Manufacturing เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ก็อาจส่งผลกระทบทางลบได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีในการวางแผนปล้น ลักลอบข้อมมูล ฯลฯ , การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร โดยไม่ต้องเห็นตัว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยเสื่อมถอยลง, ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าอาจจะต้องตกงานเพราะโรงงานส่วนมากจะใช้เครื่องจักรแทนคนงานมากขึ้น ซึ่งความคิดเหล่านี้จะเกิดกับคนบางกลุ่มเท่านั้น, เกิดการพัฒนาอาวุธมากขึ้นสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างเป็นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง ทำเสี่ยงต่อการเกิดสงคราม ฯลฯ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นสิ่งที่ยังคงเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ตราบใดที่เรายังต้องพึ่งเทคโนโลยีอยู่ แต่ผลกระทบต่อมนุษย์ที่จะเกิดแก่มนุษย์นั้นจะร้าย ดี มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ คิด ทำ และนำเทคโนโลยีสารสารเทศมาใช้นั่นเอง

เรื่องที่ 2 ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

  •               ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ 







    ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ
    การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ
    ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้
    สารสนเทศ (Information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้
    ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ คือมีความเข้าใจ (Understanding) ในองค์ประกอบต่างๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้
    ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วย
    1. การนำเข้า (Input) กิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
    2. การประมวลผล (Process) การนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
    3. ผลลัพธ์ (Output) ผลผลิตจาการประมวลผล โดยทั่วไปอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ
    4. ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) ผลลัพธ์ได้จากการประมวลผลไปปรับปรุงการนำข้อมูลเข้าและกิจกรรมการประมวลผล
    ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology : IT)
    การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศโดยผ่านการประมวลผลสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลและการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม
    ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ
    1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
    2. ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information)
    3. ข้อมูลหรือข้อสารสนเทศ (Dataหรือ Information)ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือข้อสนเทศที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
    4. การสื่อสารและเครือข่าย (Telecommunication) การติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านโครงข่าย (ทั้งสาธารณะ และส่วนตัว) ต่าง ๆ อย่างน้อยหนึ่งโครงข่าย
    5. กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกัวบคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธภาพ
    6. บุคลากรทางสารสนเทศ (Information systems personnel) เป็นส่วนที่สำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้ อย่างใกล้ชิด



    ขอบคุณข้อมูลจาก INTERNET

                           

     


























































วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ 1 การใช้เทคฦโนโลยีสารสนเทศ

                         เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

 ารประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
      เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

   - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

   - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

   - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

   - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
 
   - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้













วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

                             ปลื้มจิตร์  ถินขาว

                             นักวอลเลย์สาวคนเก่ง


  เชื่อเลยว่า ตอนนี้คอกีฬาหลายคนคงกำลังลุ้น ติดตามเชียร์กองทัพนักกีฬาไทย ในการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่ในปีนี้บินลัดฟ้าไปจัดที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนักกีฬาหลายต่อหลายคนต่างกวาดเหรียญทองมาให้ชาวไทยได้เชยชมกันมากมาย รวมไปถึงทีมนักวอลเลย์หญิงที่เมื่อวานนี้ (20 พฤศจิกายน) เพิ่งจะคว้าชัยมาได้หมาด ๆ จากการเอาชนะเวียดนาม 3-1 เซต ... ถึงแม้ว่า ในเช็ตแรกทีมไทยจะพลาดท่าโดนนำไปก่อนในคะแนน 21 ต่อ 25 แต่เมื่อเซตสอง ทีมไทยก็เปลี่ยนแผนส่ง "ปลื้มจิตร์ ถินขาว" มาทำหน้าที่เป็นมือบล็อก มือตบ จนไล่ตามเวียดนามอย่างสบาย ๆ ด้วยสกอร์  25 ต่อ 20,  25 ต่อ 15,  25 ต่อ 15

         นักวอลเลย์หญิงไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากทีมนักวอลเลย์สาวจากประเทศไทย จะฟอร์มดี ฝีมือเก่งแล้ว ยังหน้าตาดีอีกด้วย โดยเฉพาะ สาวหน่อง ปลื้มจิตร์ ถินขาว ที่มีแฟนคลับ ทั้งหญิง และชาย ชื่นชมชื่นชอบในความเก่งกาจ และน่ารักของเธอ ถึงขนาดตั้งแฟนเพจให้เลยล่ะ ดังนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงเอาใจแฟน ๆ ของสาวหน่อง ปลื้มจิตร์ อาสาพาไปรู้จักกับเธอให้มากขึ้น พร้อมทั้งนำรูปส่วนตัวเล็ก ๆ น้อยมาฝากกันด้วยล่ะ งานนี้ต้องขอบอกว่า... คนอะไรก็ไม่รู้ ทั้งเท่ ทั้งเก่ง จริง ๆ
      ปลื้มจิตร์ ถินขาว หรือ หน่อง เกิดเมื่อวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ปัจจุบันอายุ 28 ปี เป็นชาวอ่างทองโดยกำเนิด จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม และมัธยมปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) จากนั้นได้ต่อเรียนต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC)

       สำหรับการเดินทางสู่เส้นทางนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงนั้น ปลื้มจิตร์ เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่อายุ 14 ปี ขณะที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดอ่างทอง ก่อนจะไต่ระดับก้าวขึ้นมาติดทีมชาติไทยได้สำเร็จ โดยเล่นตำแหน่งบอลกลาง (Middle) และเธอเป็นหนึ่งในนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยที่ได้เซ็นสัญญาไปเล่นวอลเลย์บอลอาชีพในต่างประเทศ ขณะนี้สังกัดทีม Fujian Xiamen ประเทศจีน

 

ประวัติ ปลื้มจิตร์ ถินขาว

        ชื่อ ปลื้มจิตร์ ถินขาว

        ชื่อเล่น หน่อง

        เกิด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526

        อายุ 28 ปี
 การศึกษา

          มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม

          มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

          ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC)

          ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC)
 ผลงานและรางวัล ของ ปลื้มจิตร์ ถินขาว

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ลาว ปี 2009

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ไทย ปี 2007

         แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ฟิลิปปินส์ ปี 2005

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 เวียดนาม ปี 2003

          แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 มาเลเซีย ปี 2001

          อันดับ 13 (จาก 24 ทีม) FIVB Women's World Championship ปี 2010 ที่ญี่ปุ่น

          แชมป์ Asian Women's Volleyball Championship ครั้งที่15 เวียดนาม 2009

          อันดับ 3 Woman Senior Asian Volleyball Championship ปี 2007 (พ.ศ. 2550) ที่ประเทศไทย (ได้สิทธิ์แข่ง World Cup2007 ที่ญี่ปุ่น และ Volleyball World Grand Prix 2008)

         แชมป์ปริ๊นเซส คัพ แสงโสมวีเม่น วอลเลย์บอล อินวิเตชั่น ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2549) ที่ประเทศไทย คว้าอันดับ 1 ได้ในรอบ 24 ปี โดยเอาชนะเวียดนามได้ 3 - 0 เซต

          อันดับ 10 (จาก 12 ทีม) ในการแข่งขัน Volleyball World Cup 2007 ที่ประเทศญี่ปุ่น

          พ.ศ. 2551 อันดับ 3 การแข่งขันเอเชียน คัพ ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไท เข้าร่วมการแข่งขัน Volleyball World Grand Prix

          พ.ศ. 2553 (อันดับ 10)
          พ.ศ. 2552 (อันดับ 8)
         พ.ศ. 2551 (อันดับ 11)
         พ.ศ. 2549 (อันดับ 11)
         พ.ศ. 2548 (อันดับ 12)
          พ.ศ. 2547 (อันดับ 10)
         พ.ศ. 2546 (อันดับ 9)
          พ.ศ. 2545 (อันดับ 8)
 เข้าร่วมการแข่งขัน Woman Senior Asian Volleyball Championship

          พ.ศ. 2552 (อันดับ 1)
          พ.ศ. 2550 (อันดับ 3)
         พ.ศ. 2548 (อันดับ 6)
         พ.ศ. 2546 (อันดับ 4)
          พ.ศ. 2544 (อันดับ 3)
 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก (UNIVERSIADE)

          ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อันดับ 4)

          เคยเล่นวอลเลย์บอลอาชีพที่ประเทศจีน(สโมสรหงเหอ), รัสเซีย(สโมสรอาอูรูม), เวียตนาม(สโมสรทันเห่า) พ.ศ. 2550 เล่นอาชีพสโมสร Konya Eregli ประเทศตุรกี
 ปัจจุบัน (พ.ศ.2554)

          เล่นให้กับทีม Fujian Xiamen ที่ประเทศจีน

   









                       


                                   


                            








                        








แมตซ์แรกเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ลูกยางสาวไทยพ่ายเติร์กแมตซ์แรกเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ลูกยางสาวไทยพ่ายเติร์ก

นักวอลเล่ย์บอลสาวไทยต้านความแกร่งของทีมสาวเติร์กไม่ไหวพ่ายไป 1-3 เซต ในนัดประเดิมสนาม?นัดแรกของศึกเวิลด์ กรังด์ปรีซ์ 2012 รอบสุดท้าย ที่นครหนิงโปมณฑลเสเจียง จีน เมื่อบ่ายวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา?การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์ กรังด์ปรีซ์ครั้งที่ 20 ปี 2012 รอบสุดท้าย ที่สนามศูนย์กีฬาและศิลปะไบหลุน นครหนิงโบ? นักตบลูกยางสาวไทยลงสนามแมตช์แรกพบสาวเติร์กทีมอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 3 ของนับเป็นนัดแรกที่สาวไทยพบสาวเติร์กหรือตุรกี

เซตแรก สาวไทยใช้เกมตบลูกหัวเสาและตบอัดบล็อกทำแต้มนำตลอดจนถึง 21-18 แต่ทีมลูกยางสาวตุรกีไม่ยอมแพ้ แก้เกมจนไล่ตีเสมอ 22-22 ก่อนเปิดเกมบุกหนักแซงเก็บชัยชนะในเซตแรกไปครองด้วยสกอร์ 25-22 เมื่อถึงการแข่งขันเซตที่สอง ทีมไทย เล่นพลาดกันเองบ่อยครั้งจนแพ้ 21-25 ทำให้ตามหลังห่าง 0-2 เซต เข้าสู่การแข่งขันในเซตที่สามสาว ตุรกี ยังคงเปิดเกมรุกและทำสกอร์ขึ้นนำไป 11-9 และ 18-16 แต่จากการแก้เกมของโค้ชอ๊อดและนักตบสาวไทยรวมพลังกันจนฮึดไล่แซงนำท้ายเกม 22-19 ก่อนเอาชนะไปในเซตที่สาม 25-20 ไล่ขึ้นมา 1-2 เซต เซตถัดมาเกมสูสีทั้งสองทีมไล่บี้กันมาตลอดจนเท่ากัน 19-19 และ 24-24 แต่ ตุรกี แน่นอนกว่าเก็บสองแต้มรวดทำให้ทีมชาติไทยแพ้ไป 1-3 เซต 22-25, 21-25, 25-20 และ 24-26